วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Mass Casualty


เตรียมพบกับการฝึกอบรบ Mass Casualty เร็วๆ นี้



หลอดเลือดหัวใจอุดตัน

กล้ามเนื้อหัวใจตาย 

(Myocardial infarction) 



 คัดลอดบทความจากโรงพยาบาลเจ้าพระยา

  คำจำกัดความ เป็นความผิดปกติที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเสียหายจากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นไม่เพียงพอ
ปัจจุบันพบว่าหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกในคนไทย อันได้แก่ อุบัติเหตุ มะเร็งและโรคหัวใจ
   หัวใจของเราเป็นอวัยวะหนึ่งที่ทำงานหนักที่สุดตลอดชีวิต หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจประกอบด้วยหลอดเลือดแดงหลัก 2 เส้น เรียกว่า หลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ ด้านขวา 1 เส้น และด้านซ้าย 1 เส้น ซึ่งด้านซ้ายจะแตกแขนงออกเป็น 2 เส้นใหญ่ นอกจากนั้นแต่ละเส้นยังส่งแขนงย่อยๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอีกด้วย ดังนั้นหากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเหล่านี้เกิดการตีบหรืออุดตัน ก็จะนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นผลขั้นสุดท้ายของหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน หรือมีการหดตัวอย่างรุนแรงและเป็นเวลานาน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหายอย่างถาวร จากการขาดออกซิเจนและสารอาหารอย่างรุนแรง เมื่อนานเข้าก็เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถคืนดีดังเดิมได้ กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายจะหยุดทำงาน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตตั้งแต่แรกจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Ventricular fibrillation) หรืออาจตายจากภาวะหัวใจวายในเวลาต่อมา  การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจ ตายนับเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายยิ่ง เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันทีถึงครึ่งหนึ่ง ณ ที่เกิดเหตุ โดยมีสาเหตุจากการนำไฟฟ้าที่ผิดปกติเป็นผลให้หัวใจ เต้นผิดจังหวะ การใช้ไฟฟ้าช็อคหัวใจให้กลับมาเต้นปกติร่วมไปกับการปั๊มหัวใจ และช่วยการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ในขั้น ต้น
สาเหตุใหญ่ของหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน

                เพราะมีการสะสมของสารต่างๆ หลายชนิดบนผนังหลอดเลือด สารที่เกิดการสะสมมากที่สุดก็คือไขมัน และคอเลสเทอรอล คือ ไขมันตัวร้ายที่สุด ที่ไปสะสมอย่างตามผนังหลอดเลือด การสะสมของไขมันนี้เกิดตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น โดยมีลักษณะเป็นปื้นไขมันเล็กๆ สีเหลือง ซึ่งอาจหายไปได้หลังจาก ได้รับการรักษา โคเลสเตอรอลในร่างกายของเรามาจาก 2 แหล่งคือ ส่วนที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและส่วนที่มาจากอาหาร ตามปกติโคเลสเตอรอลเป็นสารไขมัน ที่ให้ประโยชน์ ร่างกายมีกลไกที่ควบคุมดูแลโคเลสเตอรอลไม่ให้สร้างปัญหาขึ้นได้ แต่บางครั้งกลไกควบคุมนั้น ก็อาจเกิดปัญหาขึ้นมาเสียเองที่หลอดเลือด โดยมีพังผืดหุ้มไว้บางๆเมื่อเปลือกหุ้มไขมันนี้เกิดปริแตกออก ก็จะทำให้ไขมันข้างใต้เป็นแผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ อายุ เพศ โดยเฉพาะชาย (ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะช่วยป้องกันโรคนี้) พันธุกรรมก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง ไม่เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่
1. ความดันโลหิตสูง
2. โคเลสเตอรอลในเลือดสูง
3. โรคเบาหวาน
4. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
5. สูบบุหรี่จัด   อัตราการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากหัวใจวายในคนที่สูบบุหรี่นั้นมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่อย่างน้อย 2 เท่า
6. ขาดการออกกำลังกาย
อาการเจ็บหน้าอกจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
                เป็นความรู้สึกบีบรัดและแน่นอึดอัด เหมือนมีอะไรมาทับที่บริเวณกลางหน้าอก หรือส่วนบนของร่างกาย   อาจมีอาการปวดร้าวไปตามแขน คอ กราม อาการมักจะรุนแรงและอาจมีเหงื่อแตกร่วมด้วย  อาการมักจะเป็นเวลานานมากกว่า 20 นาที มักพบในคนวัยกลางคน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีอาการ เมื่อออกกำลังกาย และรู้สึกทุเลาเมื่อได้พัก อย่างไรก็ตาม ในบางคนอาจพบอาการเจ็บหน้าอกขึ้นเองในขณะพัก อาการเจ็บหน้าอกสามารถรักษาได้หลายวิธี ตามคำแนะนำจากแพทย์ แต่ในบางครั้งก็อาจมีอาการที่แตกต่างกันไป เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หายใจขัด หอบเหนื่อย เป็นลม
การตรวจ

การตรวจร่างกายมักจะพบว่ามีชีพจรเบาเร็ว ความดันอาจจะปกติ ต่ำหรือสูงก็ได้ อาจได้ยินเสียงผิดปกติของการบีบตัวของหัวใจหรือได้ยินเสียงฟู่ (Murmur) เสียงผิดปกติของปอดจากภาวะน้ำท่วมปอด (Crepitation)
1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G)
2. การตรวจเลือดหาเอ็นไซม์ที่แสดงถึงการที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย เช่น Troponin-T, Troponin-I, CK-MB
3. การตรวจเอ็กซเรย์ปอด
4. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo-Doppler)

การรักษา

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นการรักษาที่เร่งด่วน จำเป็นต้องรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1-14 วัน ต้องอยู่ใน C.C.U. เพื่อติดตาม ดูการเต้นหัวใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ผู้ป่วยจะต้องรับออกซิเจนเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจ ได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น  นอนพักบนเตียงเพื่อให้หัวใจทำงานน้อยที่สุด การได้รับยาต่างๆ เช่น ยาขยายหลอดเลือด ยาลดการทำงานของหัวใจ ยาต้านการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ยาลดไขมัน ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น การรักษาทันท่วงทีรวมทั้งการปฏิบัติการกู้หัวใจ และการเปิดหลอดเลือด ที่อุดตันให้เร็วที่สุดเพราะยิ่งเวลาผ่านไป (เกิน 6 ช.ม.) ผนังกล้ามเนื้อที่ขาดเลือดก็จะยิ่งถูกทำลาย อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายในเวลาต่อมา การแก้ไขให้เลือดไหลผ่านโดยเร็วจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดตามมาได้ การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดก็ คือ การขจัด ก้อนเลือดที่อุดตันนี้โดยเร็ว ซึ่งอาจทำได้ด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการใช้ลูกโป่งขยายหลอดเลือด
ยาละลายลิ่มเลือด : จะต้องให้ภายใน 6 ชั่วโมง โดยต้องไม่มีข้อห้ามใช้ซึ่งแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้พิจารณาการให้ยาละลายลิ่มเลือด
การขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ด้วยสายสวนพิเศษชนิดบอลลูนหรือการใช้ขดลวดค้ำยันร่วมด้วย
เป็นการรักษาที่ดีและได้ผลรวดเร็ว ซึ่งอาจทำได้เลยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงหรือมีข้อจำกัดไม่สามารถให้ยาละลายลิ่ม เลือดได้ หรือในกรณีที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่
การป้องกัน

หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ลดปริมาณไขมันในอาหาร
1. เลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. ควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. ทำจิตใจให้ผ่องใส ควบคุมอารมณ์ ไม่เครียด
5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วน

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่โดยเด็ดขาด รับประทานยาลดไขมันในเลือดหากควบคุมอาหารไม่ได้ผลดี ให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตให้ปกติ ออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
 วีดีโอคำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวเพื่อการฉีดสีหลอดเลือด



โรคหลอดเลือดสมอง


โรคหลอดเลือดสมอง


VDO น่ารักแนะนำเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง




 บทความจากเวบไซต์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

           โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอด เลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแส เลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของ โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลัน และทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการ ดำเนินชีวิต
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
    • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
    • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
    • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคน ปกติ
    • เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
    • ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
    • โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้
    • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
    • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
    • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
    • การขาดการออกกำลังกาย

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น
  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด  
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจ มีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตราย ถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึง ตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น
  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง

การรักษา

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน 
  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบ มาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้า หมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองเป็นปกติ
  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน แล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

อย่าลืมนะครับสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง โทร 1669 นะครับ


Triage สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช

            เนื่องด้วยการทำงานให้แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ไม่เหมือนกับการทำงานในแผนกใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน แผนกผู้ป่วยวิกฤติ และในบางช่วงเวลาจำนวนผู้ป่วย และความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยก็ไม่เท่ากัน บางเวลาผู้ป่วยน้อยและไม่หนัก บางเวลาในห้องฉุกเฉินมีผู้ป่วยหนักพร้อม ๆ กันหลายคน การคัดกรองผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยหนักได้รับการรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็ว ส่วนผู้ป่วยที่หนักรองลงมาก็ได้รับการตรวจรักษาในเวลาที่เหมาะสม 
       
           วิดีโอต่อไปนี้เป็นการคัดกรองผู้ป่วยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดกรองผู้ป่วยกันนะครับ





มาดูกันต่อเลยนะครับ



 




หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับโรงพยาบาลที่กำลังจะนำการ Triage มาใช้ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินนะครับ




Triage สำหรับประชาชนทั่วไป


แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช

         หลังจากที่ได้มีการนำการคัดกรองผู้ป่วยมาใช้กับหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลปัตตานี ก็มีคำถามมากมายเหลือเกิน ว่าทำไม่ต้องมีการคัดกรองด้วย การตรวจที่ห้องฉุกเฉินแบบเดิม ๆ ไม่ดีหรือ และที่นำมาใช้เอามจากไหน เบื้องต้นขอแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้ทางห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลปัตตานี ได้มีการคัดกรองความเร่งด่วนของผู้ป่วยออกเป็น 5 ระดับด้วยกันตาม Thailand Emergency Severity Index (ESI) ตามเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน  วิดีโอชุดนี้จะไขข้อข้องใจสำหรับผู้มารับบริการที่แผนกอุบัติฉุกเฉินและนิติเวชได้พอสมควร
 


วันนี้จะมาตอบคำถามที่บางคนข้องใจเกี่ยวกับการคัดกรองผู้ป่วย

1. ทำไมต้องมีการคัดกรองผู้ป่วย และทำไมถึงต้องรอ
2. แล้วเมื่อไรถึงจะได้ตรวจ การเจ็บป่วยของเรารีบด่วนแค่ไหน รอนานเท่าไหร
3. รอที่ไหน รออย่างไร


1st Case AeroMedical Evacuation at Pattani Hospital


             ผู้ป่วยหญิงอายุ 61 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัว เช้าวันนี้ 6 ธันวาคม 2556 ญาติพบผู้ป่วยนอนฟุบหน้า ซึม ๆ เรียกไม่พูดแต่ยังพอพยักหน้าได้ จึงนำส่งรพ.โคกโพธิ์ แรกรับที่รพ.โคกโพธิ์ E3V1M5 Pupils 3 mmBRTL, Bp วัดไม่ได้ คลำPulseได้เบา ๆ จึง Tx as Shock Loading 0.9% NSS Total 2000 ml คลำ Pulse ได้ชัดจึง แต่ยังมี Bp ต่ำ ๆ จึง Start DA(2:1) 5 cc/hr แล้วส่งต่อมารพ.ปัตตานี  ก่อนส่งมาโรงพยาบาลปัตตานี ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัวมากขึ้น บ่นว่าปวดท้อง

            ที่โรงพยาบาลปัตตานี ผู้ป่วยรู้สึกตัว
Vital signs   : Bp 122/71 mmHg, PR 53 BPM, RR 20/min
HEENT       : Mild Pale, No icteric sclera

Heart           : Normal S1S2, No murmur

Lungs          : Clear Rt = Lt

Abdomen    : Soft, Mild tender at paraumbilical area, no pulsatile mass

Extremities : No Edema

N/S  E3V5M6, Pupils 3mmBRTL, Motor all V, No Neurodeficits

EKG : NSR, No ST-T Change
CXR : Widening Mediastium, Normal lung parenchymal
Bedside Ultrasound : Intimal Flap in Abdominal Aorta
CTA : Aortic Dissection Stanford Type A

          Plan Refer โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แต่อาจาย์แพทย์ติดประชุม จึงได้ประสานไปยังศูยน์รีเฟอร์โรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้คำตอบว่าให้ลองประสานไปที่โรงพยาบาบสุราษฎร์ธานี สรุปคืออาจารย์แพทย์ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีรับเคสจึงเตรียมการส่งต่อ แต่การเดินทางด้วยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงประสานสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อส่งต่อทางอากาศยาน



       ถึงแม้ไม่สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีได้ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เป็นใจ(ฝนตกหนักมาก) กับตันขับเฮลิคอปเตอร์มาตั้งหลังที่ค่ายเสนานรงค์ อำเภอหาดใหญ่ และได้ประสานส่งต่อ สุดท้ายแล้วผู้ป่วยได้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์อย่างปลอดภัย



วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รวมภาพ Basic AeroMedical Evacuation: BAME (บะหมี่)


 
        โรงพยาบาลปัตตานี ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้จัดการฝึกอบรมเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศยาน ( Basic AeroMedical Evacuation Course ) เพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การอบรมและการฝึกผ่านไปได้ด้วยดี นี่คือภาพประทับใจเล็กน้อย ๆ ของผู้จัดและผู้รับการฝึกอบรม





รวบรวมภาพความประทับใจจากผู้เรียนและฝึกหลักสูตร  

Basic AeroMedical Evacuation (BAME)

ขอบคุณคณาจารย์ทุกท่าน และนักบินค่ายอิงคยุทธบริหารจังหวัดปัตตานี